วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Disruptive Technology มีอะไรกันบ้าง (Disruptive EP2)

เป็นที่ยอมรับการพยากรณ์ของ McKinsey ประเมินว่า ในปี คศ. 2025 มีธุรกิจที่ใช้ Disruptive Technology จากทั่วโลก

จะสร้างมูลค่าทางการตลาด สูงหลาย Trillion US Dollar มีกูรู 2-3 ท่าน ได้อธิบายไปแล้ว ตามนั้น

ถ้าเช่นนั้น ผมขอลิสท์รายการใหม่ตามแบบที่ผมถนัด และอธิบายใหม่ในมุมมองของผม โดยขอจัดใหม่เป็น 10 กลุ่ม(รายการ) ซึ่งต่อไปจะเป็นกรอบของซีรีย์ Disruptive โดยบางเรื่องก็ไม่ใช่ New Technology แต่อย่างใด

1. 5G Network Provider หรือ Mobile Internet
ผมหมายถึง ผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือ เหมารวมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และต่อไปอาจมีอินเตอ์เน็ตผ่านดาวเทียมด้วย เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Internet Access) ของประชากรโลกที่เหลือที่ยังขาดโอกาส

2. AI: Artificial Intelligence หรือ Automation of knowledge work
ผมหมายถึง ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังมากๆ หากนำเข้ามาประยุกต์กับกระบวนการทำงาน ซึ่งปัจจุบันใช้ทั้งแรงงานมนุษย์ เวลา และทรัพยากรต่างๆ จะถูกแทนที่ด้วย Robotic Process Automation (RPA)

3. IoT: Internet of Things อันนี้ตรงกับ McKinsey
ปัจจุบัน IoT เฟื่องฟูมากๆ ในกลุ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Wearable และถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมเกือบทุกอุตสาหกรรม พร้อมมีแนวโน้มที่เติบโตสูงมาก

4. Advanced robotics อันนี้ ก็ตรงกับ McKinsey
เกิดจาก Pain Point ของมนุษต์ ตั้งแต่การขาดแคลนแรงงาน การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ล้วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ ใช้แทนแรงงานมนุษย์

5. Cloud technology อันนี้ ก็ตรงกับ McKinsey
Cloud เกิดขึ้นมานานพร้อมๆกับยุคเริ่มต้นใช้อินเตอร์เน็ต แต่ด้วยการพัฒนา IT ในหลายๆด้าน พร้อมการส่งเสริมด้วยโครงข่าย ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีความเร็วสูงขึ้นเป็นพันเท่าจากอดีต จึงผลักดัน Cloud มีบทบาทสำคัญ และส่งเสริมการทำงาน 4 รายการแรก

ข้อที่ 1 ถึง ข้อที่ 5 เกี่ยวข้องกันทั้งหมด (คือ เทคโนโลยีถูกใช้พร้อมกัน) แต่ในบาง Application อาจไม่มี Robotic หรือไม่มีกลไก mechanics
แต่ Network + AI + IoT + Cloud แทบแยกกันไม่ออกเลย คือถูกประยุกต์ใช้หลายเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวกัน

Disruptive มีอีก 5 กลุ่ม ผมขอยกไป Disruptive EP ต่อไป โปรดติดตามได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สอนการเงินลูก ตั้งแต่เขายังเด็ก (รายได้หลายช่องทาง EP5)

ขอแนะนำว่า พ่อแม่ควรปูพื้นฐานการเงินง่ายๆให้แก่ลูกๆ เช่น รายรับ รายจ่ายในครอบครัว


แล้วค่อยๆเพิ่มการบริหารจัดการด้ารการเงิน ไปที่ละน้อย ให้ลูกๆได้ซึมซับตั้งแต่ยังเด็ก
อย่าปล่อยให้ลูกตัวเอง ออกไปเผชิญชีวิตช่วงเริ่มต้นทำงานหาเงินเลี้ยงชีพ ด้วยความรู้ทางการเงินเท่ากับศูยน์ ให้พวกเขาเสียเวลาลองผิดลองถูก

พ่อแม่ในสังคมไทย ได้แต่สั่งสอนลูกๆ ให้รู้จักการประหยัด (ประหยัดอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้รวย) แถมยังไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องประหยัด เช่น ไม่ได้ทำตัวอย่างที่ดีให้ดู อาจตรงกันข้าม ตัวเองกลับฟุ่มเฟือยไม่รู้ตัว ทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้ลูกเห็น คำสอนให้ประหยัดด้วยวาจา จึงไม่เกิดผลดี

ในบางครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องการเงิน ลูกๆต้องช่วยกันทำงานหาเงิน เพื่อช่วยจุนเจือครอบครัว กลับกลายเป็นโอกาสให้ลูกได้บทเรียนที่ดี เมื่อเขาออกไปทำธุรกิจของเอง มักจะประสบความสำเร็จ เพราะถูกปูพื้นฐานมาตั้งแต่ยังเด็ก

หากเราเป็นพ่อแม่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเงิน เลี้ยงลูกได้โดยไม่เดือนร้อน ไม่ใช่แค่ส่งเสริมเขาเรียนหนังสืออย่างเดียว แต่เราควรเพิ่มทักษะการเงินให้แก่ลูกๆด้วย จะเป็นการดีต่อตัวพวกเขาเองในอนาคต

เริ่มจากง่ายๆ เลย "การเงินในครอบครัว" มีดังนี้
1. อธิบายโครงสร้างรายได้ ในครอบครัวทั้งหมด (เฉลี่ยต่อเดือน) เช่น
- เงินเดือนพ่อ เงินเดือนแม่
- รายได้จากการลงทุน เช่น ให้เช่า เงินปันผล ดอกเบี้ย และอื่นๆ
ถ้าเพิ่มเติม ประมาณการวันสิ้นสุดรายได้ และอัตราเติบโตรายได้ จะดีมากๆ

2. โครงสร้างรายจ่าย ในครอบครัวทั้งหมด (เฉลี่ยต่อเดือน) เช่น
- ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนสินค้าต่างๆ
- ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน (ถ้ามี)
- ค่าจ้างแม่บ้าน ค่าจ้างคนงาน (ถ้ามี)
- ค่าน้ำปะปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ารายเดือนบริการต่างๆ
- กลุ่มค่าใช้จ่าย เดินทาง อาหาร สินค้าอุปโภค เสื้อผ้า ท่องเที่ยว ฯลฯ (แสดงตัวเลขประมาณการเป็นกลุ่มๆ)
- ค่าเทอม ค่าชุดนักเรียน ค่าเดินทางไปเรียน ต้นทุนทางการศึกษาต่างๆ
- ภาษีรายได้ ประกันสังคม
- เงินออม และเงินลงทุน เช่น กองทุนสำรองฯ LTF, RMF ฯลฯ

3. หนี้สินในครอบครัว ผ่อนเดือนละเท่าไร ดอกเบี้ยกี่% เงินต้นคงเหลือ ถ้าไม่โปะเงินต้นเลย อีกกี่ปีจะผ่อนหมด อธิบายให้เห็นภาพว่า การผ่อนแต่ละเดือนทรัพย์สินจะค่อยๆเพิ่มเป็นส่วนของเรา หรือหนี้ลดลง และการใช้ประโยชน์ในช่วงที่ผ่อน เทียบกับถ้าเราต้องเช่าจากผู้อื่น

4. การออมและการลงทุนในครอบครัว ออมเดือนละเท่าไร กำไร/ขาดทุนเท่าไร ปันผลกี่% อัตราการเติบโต โครงสร้างหรือพอร์ทการลงทุน เช่น กองทุน/หุ้น/ทองคำ/เงินสด เปรียบเทียบข้อดี/ข้อเสีย

5. ทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน รถยนต์ ระบุมูลค่า การใช้ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา เป็นต้น
หากมีธุรกิจครอบครัว ให้อธิบายมูลค่าธุรกิจ ประมาณการรายได้ รายจ่าย กำไร ที่มาของรายได้ ปัจจัยธุรกิจ เป็นต้น

ข้อมูลต่างๆ ควรทำเป็นทั้งตารางตัวเลขและกราฟ ไม่ต้อง Breakdown จนละเอียดเกินไป แจกแจงเฉพาะเป็นกลุ่มหลักๆ ให้ลูกๆเห็นภาพ
1.รายได้ 2.รายจ่าย 3.หนี้สิน 4.การออม/ลงทุน 5.ทรัพย์สิน

ตัวเลขจะทำให้เขาเข้าใจว่า เรื่องการเงินเป็นเรื่องสำคัญ เงินเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต เขาจะมีความเห็นใจพ่อแม่ที่ต้องทำงานหาเงิน แล้วจะรู้จักใช้เงินอย่างมีคุณค่า เป็นการปลูกฝังอุปนิสัยการบริหารจัดการด้านการเงินที่ดีในอนาคตของเขา

ต่อไป เขาจะอยากทำงานหาเงินเอง แม้ว่ากำลังเรียนอยู่ ก็จะกำหนดเป้าหมายตัวเอง ได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่เข้าใจเรื่องการเงิน (หรือไม่กำหนดมั่วซั่ว ตามความเพ้อฝัน)

ปัญหาคือ ตัวพ่อแม่เองยังไม่รู้จักทำตัวเลขภาพรวม การเงินภายในครอบครัวเลย

ขอจงเชื่อมั่นตัวเองว่า ทุกๆความรู้ ทุกๆความถนัด เราสามารถเรียนรู้กันได้ ฝึกฝนกันได้ หรือจงเป็นคนที่พร้อมพัฒนาตัวเองได้เสมอ Re-Skill & Up Skill (ทำเพื่อลูก เราต้องสู้)

การสอนลูก หรือสอนใครๆ คือการทบทวนความรู้ของตัวเองให้เก่งขึ้น
โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทางใน EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

ปลูกข้าวแบบจีน กรณีศึกษาที่ไทยต้องตามให้ทัน (ใจเกษตร EP2)

เรื่องเล่าทริปดูงานที่จีน ในบ่ายวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ณ เมือง Suzhou จากผู้ใช้ Facebook ที่ใช้ชื่อว่า Kalaya Joukhom


หลังอาหารกลางวัน ก็เดินทางไปดูการเพาะปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ ที่ WuQiu Village in GuLi Town, Changshu สิ่งที่พบคือ ที่นี่เขาทำนาแปลงใหญ่ มีนายทุนเป็นผู้ลงทุนปลูกข้าว เรียกว่าเป็น วิสาหกิจชุมชน

"นายทุน"ทำการเช่าที่นาจากชาวนาแล้วก็จ้างชาวนาทำนา ดังนั้นชาวนาจะได้ผลตอบแทนสองอย่างคือ ค่าเช่านา กับค่าจ้างทำนา

การปลูกข้าวหรือพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ทั้งจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นในหลายๆเรื่อง

เช่น รัฐบาลจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยทางการเกษตรให้ 85% ส่วนที่เหลือ 15% เกษตรกร หรือนายทุน (ในนามวิสาหกิจชุมชน) เป็นผู้จ่ายเอง

ตามที่สอบถาม ได้ความว่านายทุนต้องซื้อประกัน เพราะต้องลงทุนทำนาด้วยเงินจำนวนมาก การซื้อประกันภัย (เพิ่มต้นทุน แค่นิดเดียว) เพื่อแลกกับการรับประกันความเสี่ยงในการลงทุนทั้งหมด

นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น การทำถนนลาดยาง และระบบน้ำ ถึงแปลงนาหรือแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรทุกราย รัฐบาลมองว่า ถ้าการขนส่งสะดวกจะทำให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

การลงทุนของนายทุนในที่นาแปลงใหญ่ จึงมีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ทุกกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่เพาะปลูก-จนถึงเก็บเกี่ยวเลยทีเดียว
รวมถึงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีการจัดทำเครื่องดักแมลง ส่วนแปลงนา มีการจัดคันนาแต่ละแปลงที่เป็นอย่างระเบียบ มีทำท่อส่งน้ำเป็นท่อคอนกรีต และคันนาแต่ละแปลงยังเป็นรางน้ำคอนกรีตด้วย

มีการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างแปลงปลูกข้าวที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีกับไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวในนาที่ปลูกสวยงามมาก ไม่มีวัชพืชให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว ที่นี่มีการเลี้ยงสัตว์ในนาข้าวด้วย เช่น ปู กุ้ง ปลา และกบด้วย

ระบบประกันภัยทางการเกษตร บริษัทประกันภัยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Smart Farming) เข้ามาใช้ เช่น การนำระบบโดรนมาสำรวจวาดแปลงที่รับประกันภัย และสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย

คล้ายกับแบบของไทยเรียกว่า ประเมินความเสียหายตามแบบ กษ 01 และ 02 แต่เราใช้คนสำรวจ และบริษัทประกันฯนำระบบ AI เข้ามาใช้ด้วย
การประกันภัย มีทั้งการประกันผลผลิตที่ได้รับความเสียหาย ประกันรายได้ รวมถึงประกันเครื่องจักรทางการเกษตร (มีประมาณ 30 กว่าแบบ)

เกษตรกรสามารถเลือกซื้อประกันภัยกับบริษัทใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของภาครัฐฯ จึงจะได้รับการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย 85% ตามที่กล่าว

ความเห็นส่วนตัวของใจเกษตร เป็นการทำงานร่วมกัน แบ่งปันผลประโยชน์ Win Win Win ชาวนา นายทุน และรัฐบาล

1. ชาวนามีรายได้ที่แน่นอนจาก ค่าเช่านา และค่าจ้างทำนา
- ที่ดินยังคงเป็นของชาวนา รักษาอาชีพเดิมได้ในบ้านของตัวเอง
- ชาวนาพัฒนาต่อยอดได้ เช่น มีเครื่องจักรให้เช่า มีบริการเสริมต่างๆ

2. นายทุน มีเงินลงทุน เข้าถึงเครื่องจักรฯ เทคโนโลยีหรือ Smart Farming ซึ่งจำเป็นสำหรับเกษตรสมัยใหม่ อีกทั้งเข้าถึงตลาดได้ดีกว่ารายย่อย มีรัฐบาลช่วย ต้องพร้อมทุกอย่างแบบนี้ จึงจะแข่งขันกับเกษตรกรทั่วโลกได้

ในอดีต นายทุน คือคนที่ทำนาบนหลังชาวนา แต่ในยุค Digitization
- ชาวนา หรือเกษตรกรรายย่อย สามารถพัฒนาเป็น เกษตรกรรายใหญ่ หรือเป็นนายทุนได้ หากสะสมทุนเพียงพอ มีความชำนาญในเทคโนโลยี และเข้าถึงตลาดจากการเรียนรู้จากนายทุนคนเดิม

3. รัฐบาลหลายประเทศ ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมากช่วยเหลือเกษตรกร เพราะเป็นอาชีพที่ต้องแข่งขันกับกลไกราคาตลาดโลก หากเรายังคงช่วยเหลือแบบให้เปล่า ประกันราคา หรือชดเชยต่อไร่
แต่ไม่เปลี่ยนวิธีการทำเกษตรให้ได้กำไร เราก็จะซ้ำวนอยู่กับ ประชานิยม

บริษัทประกันภัย เป็นทั้ง Auditor แทนรัฐบาล (ไม่มีใครขายประกันมั่วๆแบบไม่ตรวจสอบความเสี่ยง) ถ้าความเสียหาย เช่น ภัยธรรมชาติ ราคาตกต่ำ ฯลฯ รัฐบาลก็ไม่ต้องจ่ายชดเชยให้เกษตรกรแบบเต็มๆ

สนใจเรื่องการทำเกษตร โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ใครที่เราต้องแคร์มากที่สุด เพื่อที่จะสร้างรายได้จากเงินสี่ด้าน (รายได้ EP4)

รายได้หลายช่องทาง EP4 เรามาพิจารณา ใคร?ที่เราต้องแคร์มากที่สุด หรือเราต้องให้ความสำคัญเขามากๆ ในการหารายได้ในแต่ละด้าน


E: Employee มนุษย์เงินเดือนทุกๆคน ต่างก็ต้องการ เงินเดือนสูงๆ มีความก้าวหน้า ได้รับการยอมรับนับถือ มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ฯลฯ
นั้นเป็นความต้องการฝ่ายลูกจ้าง (เป็นสิ่งที่เราได้รับ)

"ให้ก่อน เพื่อที่จะรับ" Give & Take เราต้องทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของ เจ้าของธุรกิจ (Boss)
- ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็ก เราต้องเข้าใจว่า เถ้าแก่ อยากได้อะไร
- ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เราต้องเข้าใจว่า ผู้ถือหุ้น/ผู้บริหาร อยากได้อะไร
- ถ้าเป็นข้าราชการ เราต้องเข้าใจว่า รัฐบาล/กระทรวง/กรมที่สังกัด มีนโยบาย มีพันธกิจ มีหน้าที่อะไร

เจ้าของธุรกิจทุกคน ก่อตั้งธุรกิจของตัวเองขึ้นมาเพื่อหากำไร
- กำไร       มาจาก -> รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย
- รายได้     มาจาก -> การซื้อของลูกค้า
- ค่าใช้จ่าย มาจาก -> การดำเนินงาน และต้นทุนสินค้าหรือบริการ

ถ้าเราทำงานอยู่ส่วนรายได้ ก็พยายามเพิ่มรายได้ เพิ่มยอดขาย เพิ่มลูกค้า
ถ้าเราทำงานอยู่ส่วนค่าใช้จ่าย ก็พยายามลดค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพสินค้า/บริการ ง่ายๆเลย พยายามทำทั้งสองอย่าง กำไรก็สูงขึ้น

S: Self Employed กิจการส่วนตัว จะรอดหรือรุ่ง ขึ้นอยู่กับรายได้ รายได้ก็มาจากการซื้อของลูกค้า (Customers)
ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ ลูกค้า คือคนที่คุณต้องแคร์เขาให้มากที่สุด

เริ่มตั้งแต่ลูกค้าของคุณเป็นใคร (เอาให้ชัดไปเลย) เป็นคนกลุ่มไหน ชายหรือหญิง ช่วงอายุเท่าไร อยู่ที่ไหน

ลูกค้ามีความต้องการอะไร มีพฤติกรรมแบบไหน ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

ลูกค้ามีฐานะแค่ไหน ซื้อบ่อยมั้ย ชอบซื้อช่วงไหน อะไรที่ทำให้ตัดสินใจซื้อ

ลูกค้าถูกใจสินค้าและบริการของเรามั้ย ชอบตรงไหน ต้องแก้ไขจุดใด

หลายคนออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เพราะรักในสิ่งที่ทำ แล้วมาตามหาลูกค้าที่หลัง โดยหวังว่าจะมีคนที่ชอบเหมือนตัวเอง
นั้นแสดงว่าคุณแคร์ตัวเอง มากกว่าลูกค้า

B: Business ธุรกิจจะถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยพนักงานทุกคุณ (Team) เจ้าของธุรกิจทำเองไม่ได้ ต้องจ้างคนที่เก่งกว่าในแต่ละด้านมาทำงานแทน

มีหลายคนโพสท์ข้อความ "อย่าหวังให้ ลูกน้อง ต้องทุ่มเทเหมือน ผู้บริหาร" หรือ "อย่าหวังให้ ลูกจ้าง คิดให้เป็นเหมือน นายจ้าง" มีต่ออีก...
เป็นการแชร์ความคิดเห็นที่ ลบและแคบ เราไม่ควรเชื่อตาม

พนักงานและผู้บริหาร ลูกจ้างและนายจ้าง เป็นการรวมตัวกันเพื่อทำธุรกิจแบ่งหน้าที่กัน พึ่งพาอาศัยกัน ดูแลซึ่งกันและกัน

บางองค์กรมีการทำ Sustainability นอกเหนือจากทำกำไรในธุรกิจ ดูแลซึ่งกันและกัน ยังมีความพยายามช่วยเหลือหรือปกป้อง สังคม สิ่งแวดล้อม ผลประโยชน์ประเทศชาติ สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ

คนที่เราต้องแคร์มากที่สุดของ E & B นั้นตรงกัน เพียงแต่อยู่กันคนละด้าน
E พนักงานบริษัท ต้องแคร์ B เจ้าของธุรกิจ โดยช่วยบริษัททำกำไร
B เจ้าของธุรกิจ ต้องแคร์ E พนักงานบริษัท โดยดูแลในสิ่งที่เขาต้องการ

บริษัทที่มีความผูกพันธ์พนักงานสูง (High Employee Engagement) ก็จะเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้สูงขึ้นตาม Engagement ไปด้วย (กำไรสูงกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่ Engagement ต่ำ และอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน)

I: Investment การลงทุนเป็นเรื่องระยะยาว เราต้องรู้จักอดออม ต้องมีทั้งความอดทน มีวินัย มีความรู้ทางการเงินด้วย

และต้องสร้างประสบการณ์การลงทุน โดยยอมเสี่ยงที่จะพลาดขาดทุน เพื่อต่อไปจะได้ไม่พลาดอีก แล้วเราลำบากลงทุนในตอนนี้ไปเพื่อใคร?

ขอให้มองไปในอนาคต
การขาดรายได้จากทั้ง E, S & B มีความเป็นไปได้ทั้งหมด

ถ้าเราเป็น E มนุษย์เงินเดือน ต้องมีสักวันที่เราเกษียณทำงานไม่ได้เหมือนเดิม หรือบริษัทที่ทำอยู่ถูก Disrupt ต้องปิดกิจการไปกระทันหัน หรือถูกปิดเฉพาะส่วนที่ AI, Robotic หรือใช้เทคโนโลยีแทนคน

ถ้าเราเป็น S เจ้าของกิจการ เหมือนกันเลย ต้องมีสักวันที่เราทำงานไม่ได้เหมือนเดิม หรือกิจการของเราถูก Disrupt ปรับเปลี่ยนไม่ทันโลก

อย่าว่าแต่กิจการเล็กๆ ธุรกิจขนาดใหญ่ๆ B มีอายุเป็นร้อยปี ถูกธุรกิจใหม่ หรือ Startup เข้ามาแย่งตลาด มีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมาย

การลงทุน จึงเป็นคำตอบสำหรับ ตัวคุณเองให้อนาคต (You in the future)

ถ้าคุณยังคงมีรายได้จากช่องทางอื่นๆอยู่แล้ว รายได้จากการลงทุน ไม่ควรนำมาใช้จ่ายเลย  ควรนำไปลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทางใน EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Disruptive Technology วิกฤต หรือ โอกาส (Disruptive EP1)

เรื่องการเงินและการพัฒนาตัวเอง เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสนุก เหนื่อยล้า เพราะต้องชนะตัวเอง วันแล้ววันเล่า แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการใช้ชีวิต ผมจึงตั้งใจเขียนเรื่องนี้ก่อน เพื่อเตรียมจะถ่ายทอดให้ลูกๆได้ซึมซับตั้งแต่ยังเด็ก

เรื่องทำเกษตร เป็นเรื่องที่แสนสนุกและสดชื่นอยู่กับธรรมชาติ ก่อนนั้นผมก็แค่ปลูกอะไรเล่นๆ พึ่งจะมาทำเกษตรจริงจัง หวังเป็นรายได้ได้แค่ 2-3 ปีเอง

ส่วนเรื่อง Disruptive Technology นี้ ตั้งแต่เรียนจบแล้วทำงานเป็นวิศวกร เกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ยังไม่เคยออกห่าง มากว่า 20 ปีแล้ว

ถ้าผมจะไม่เล่า ไม่แชร์เรื่องนี้ Disruptive Technology นี้ ก็คงจะไม่ได้ ซึ่งตัวเองใช้เป็นอาชีพ สร้างฐานะและดูแลครอบครัวด้วยเรื่องนี้มาโดยตลอด

"Disruptive" คำนี้ โดนมากๆ จากประสบการณ์การทำงาน เกือบทุกบริษัทฯ ที่ถูก Disrupt ธุรกิจทั้ง เจ๊ง ปิด แปลงสภาพ มาทั้งหมด เป็นไปตามกฎ "ไตรลักษณ์" เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

เริ่มด้วยบริษัทแรก และต่อๆมา
- TT&T โทรศัพท์พื้นฐาน เจ๊ง ปิด เพราะถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์ 2G
- Iridium โทรศัพท์ดาวเทียม LEO เจ๊ง แปลงสภาพ เพราะถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์ 2G ภาคพื้นดิน (Terrestrial Mobile Mobile)
- RTS โทรศัพท์ทางไกลชนบท แปลงสภาพ ถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์  2G
- Urmet โทรศัพท์หยอดเหรียญ แปลงสภาพ ถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์ 2G
- ACeS โทรศัพท์ดาวเทียม GEO (ยังไม่เข็ด) เจ๊ง ปิด เช่นกัน เพราะถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์ 2G
- Hutch (BFKT) โทรศัพท์มือถือ 2.5G ถูกแปลงสภาพ ถูก Disrupt ด้วยโทรศัพท์ 3G

เชื่อแล้วหรือยังครับว่า "มันโดน" ผมโดน Disrupt มาเต็มๆหลายครั้ง เพื่อความอยู่รอด จึงต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น การเงิน การตลาด และอื่นๆ

เข้าใจแล้วนะครับ ผมนะรู้ซึ้ง ซึ้งถึงการถูก Disrupt มีประสบการณ์ตรง 555

สำหรับที่ทำงานปัจจุบัน ก็มีหลายบริการและเทคโนโลยีที่ถูก Disrupt เช่นกัน เพียงแต่ว่า เจ้าของ เปลี่ยนเทคโนโลยีได้ทันโลก

พูดง่ายๆ คือ Disrupt ตัวเอง ย่อมดีกว่าที่จะให้บริษัทอื่นมา Disrupt

Disruptive Technology คือ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาสร้างมูลค่าทางการตลาด และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เลิกใช้ของเดิม

มันจะเป็น "วิกฤต" ถ้าคุณอยู่เฉยแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนตัวเอง สักวันจถูกคนอื่นเปลี่ยน หรือถูก Disrupt แต่ถ้ารู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ พยายามใช้เทคโนโลยีแทนที่แบบเดิมๆ จะกลายเป็น "โอกาส" ช่วยให้ลดต้นทุน และเพิ่มรายได่

Disruptive จะมีอะไรบ้าง และมีผลกระทบกับเราอย่างไร
โปรดติดตาม Disruptive EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

แนวทาง ปรัชญาต่างๆ ในการทำเกษตร (ใจเกษตร EP1)

มีหลายคนเปลี่ยนอาชีพมาทำเกษตรด้วยความรักธรรมชาติ หรือหลายคนก็ทำเกษตรกันอยู่แล้ว ต่างก็มีแนวทาง ปรัชญา วิธีคิดที่แตกต่างกันออกไป


เกษตรกรส่วนใหญ่ชอบทำตามกันไป คือเห็นคนอื่นทำแล้วดี ทำแล้วมีรายได้ชัดเจน แน่นอนถ้าเป็นเราเห็นตัวอย่างจริงๆ ก็อยากทำตาม แต่อาจลืมพิจารณาด้านตลาด Demand Supply

ถ้าทำตามกันมากเกิน จนสินค้าล้นตลาด ก็จะมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ นั้นก็เป็นสิ่งที่เราเห็นๆกันอยู่ ซึ่งมันเกิดขึ่นซ้ำวน เกิดเป็นวัฏสงสาร

ผมเองก็ศึกษาทำความเข้าใจ แนวทางและปรัชญาต่างๆในการทำเกษตรมาระดับหนึ่ง อาจไม่ลึกซึ้งหรือไม่ได้เข้าใจถึงแก่นของปรัชญานั้นๆ แต่ก็พอยกตัวอย่างให้เห็นว่า ถึงความหลากหลาย และมีความคิดดีๆน่าสนใจ น่านำมาเป็นแบบอย่าง เช่น

- เกษตรพอเพียง เป็นแนวทางพระราชดำรัสของในหลวงรัชการที่ ๙ คือการพึ่งพาตนเอง เดินทางสายกลาง โดยยึดหลัก พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน(หรือไม่ประมาท) ปรัชญานี้ ไม่ใช่แค่การทำเกษตร แต่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขอย่างยั่งยืน

- เกษตรผสมผสาน ซึ่งตรงกันข้างกับเกษตรเชิงเดียว คือการทำกิจกรรมหลายๆอย่างทั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมมากๆกับเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัด 1-10 ไร่

- เกษตรปราณีต คือการทำเกษตรแบบเข้าใจธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี มีกิจกรรมหมุนเวียนทั้งปี ละเอียดแบบนั่งแยกขนาดและนับจำนวนเมล็ดผลผลิต เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูก

- เกษตร ๑ ไร่ ๑ แสน คล้ายเกษตรผสมผสานผสมและเกษตรปราณีต โดยเน้นการขายตรงให้ผู้บริโภค การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ต้องผลิตปริมาณมากๆ แต่ทำให้สินค้ามีคุณภาพมากๆ เพื่อขายในราคาแพงๆได้

- เกษตรอินทรีย์ หรือ Organic คือทำเกษตรแบบปราศจากสารเคมีใดๆ โดยเน้นที่ความปลอดภัยของผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง

- Smart Farming คือเน้นการใช้นวัตกรรม เช่น Big Data Analytic, IoT, AI, Automation, Robotic หลักๆก็เพื่อทดแทนแรงงานภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยี หรือด้วยความรู้แบบใหม่ๆ

- เกษตรก้าวหน้า แนวคิดนี้ผมนำมาจากฝ่ายดูแลลูกค้าธนาคารกรุงเทพ คือ เน้นการบริหารจัดการที่ดี ทั้งเรื่องการผลิต การขายและตลาด ระบบเครือข่าย โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

- วนเกษตร คือปลูกป่าให้อุดมสมบูรณ์เรียนแบบธรรมชาติก่อน แล้วทำเกษตรในพื้นที่ป่าที่ปลูกนั้นแบบพึ่งพาอาศัย ซึ่งป่าและการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

- รวบรวมเมล็ดพันธุ์ ทำเกษตรเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน พึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกษตรกรรายอื่นๆในพื้นที่ ให้แข่งขันกับทุนข้ามชาติได้

- เกษตรปลดหนี้ นี่อาจไม่ใช่ปรัชญา แต่ผมเห็นแนวทางนี้เยอะพอสมควร เกษตรกรมักจะมีหนี้สินติดพันมา (คงเพราะกระแสบริโภคนิยม หรือโครงการรัฐที่ล้มเหลว) ไม่แน่ใจว่า ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุหรือยัง แต่จะพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยพยายามค้นหา วิธีการใหม่ๆ ใครทำแล้วประสบความสำเร็จ ใช้เทคนิคอะไรดีๆ ใช้สูตรอะไรดี ปุ๋ยยี่ห้ออะไร เมล็ดพันธุ์ดีมาจากไหน ปลูกอะไรขายได้ดี อาจเป็นกระแสก็ปลูกตามกันเลี้ยงตามกัน ตราบใดชีวิตยังไม่สิ้น หนี้สินก็ยังมี ก็ต้องสู้ชีวิตกันไป

จริงๆอาจมีมากกว่านี้ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรยั่งยืน เกษตรธรรมชาติ เกษตรท่องเที่ยว เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรวีคเอ็น ฯลฯ เยอะแยะมากมาย ไม่สามารถกล่าวถึงได้ทั้งหมด

สนใจเรื่องการทำเกษตร โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สิ่งที่ต้องแลก เพื่อที่จะสร้างรายได้จากเงินสี่ด้าน (รายได้ EP3)

รายได้หลายช่องทาง EP3 เรามาพิจารณา สิ่งที่เราต้องแลก (contribute) หรือเราต้องทุ่มเทมากๆ ในการหารายได้ในแต่ละด้าน


เริ่มจาก E: Employee หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า มนุษย์เงินเดือน ตามกฎหมายแรงงาน ในแต่ละวันต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง (ถ้าเกินจะเป็น OT)

เช่นบริษัทประกาศว่า ให้พนักงานทำงาน 5 x 8 หมายถึง คุณต้องทำงาน 5 วัน ในหนึ่งสัปดาห์ (จันทร์-ถึง-ศุกร์) เริ่มงาน 8:30 เลิกงาน 17:30 เอาจริงๆแล้ว คุณอาจต้องใช้เวลาทำงานมากกว่านั้นอีก

หลายคนทำงานในกรุงเทพฯมีบ้านอยู่ไกลจากที่ทำงาน อาจต้องใช้เวลาไปที่ทำงาน 2 ชั่วโมง กลับมาบ้านอีก 2 ชั่วโมง รวมแล้วใช้เวลาเดินทางไปทำงาน 4 ชั่วโมงในแต่ละวัน

การที่จะมีรายได้จากชีวิตมนุษย์เงินเดือน ไม่เพียงแค่ วุฒิการศึกษา ความรู้ประสบการณ์ ความสามารถ และอีกหลายๆอย่าง แต่ดูให้ดี อะไรที่มีค่ามากที่สุดสำหรับเรา ที่นำไปแลกกับรายได้ตรงนี้ นั้นคือ "เวลาในแต่ละวัน"

S: Self Employed กิจการส่วนตัว ไม่เสมอไปที่ต้องใช้เงินลงทุน บางอาชีพ ที่ปรึกษา ฟรีแลนซ์ บริษัทรับเขียนโค้ด ก็ไม่ต้องใช้เงินอะไรมากมาย

การเริ่มต้นกิจการส่วนตัวที่ดี ต้องออกแบบให้เป็นกิจการที่ "เล็กและเร็ว" ที่สุด เล็ก หมายถึงอย่าพึ่งลงทุนมาก ถ้าทดลองแล้ว มันไม่เวิร์คเราจะได้เหลือเงินทดลองวิธีการอื่น

เร็ว หมายถึง ให้รู้ผลเร็ว 3 เดือน 6 เดือน ก็ต้องประเมินผลประกอบการได้ ปรับตัวทัน แก้ไขได้เร็ว

สิ่งที่อยากจะบอกคือ การมีกิจการส่วนตัว บางทีต้องใช้เวลามากกว่ามนุษย์เงินเดือนเสียอีก และที่ต้องเพิ่มขึ้นมากอีก คือ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การปรับตัว พอมาเป็นเจ้าของเอง หลายๆอย่างที่ไม่เคยทำก็ต้องทำ

การตัดสินใจนี้สำคัญ ทั้ง S & B เจ้าของต้องเป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดชะตากิจการหรือธุรกิจของตัวเอง (S & B นั้นเหมือนกัน) เช่น
- ตัดสินใจ ปรับปรุงกิจการครั้งใหญ่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
- ตัดสินใจ Cut loss คือยอมรับการขาดทุน เร่งถอยก่อนที่จะไม่เหลืออะไร
- ตัดสินใจ ขยายกิจการ หมายถึง การลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก
ลูกจ้าง ทำเต็มที่ก็แค่ให้ความเห็น แต่ตัดสินใจแบบนี้ไม่ได้

B: Business ที่ต้องแลกมากกว่า S คือ ระบบและบุคลากร ถ้ายังไม่มี ก็ต้องสร้างให้มีให้ได้ ซึ่งช่วงแรกต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายามอย่างสูง

ระบบ หมายถึงระบบงาน การหาลูกค้า การจัดหาและส่งมอบสินค้า หรือบริการ การจัดเก็บรายได้ การบริหารจัดการการเงินและภาษี ระเบียบบริษัทฯ งานธุระการ การประเมินผล ยิ่งบริษัทใหญ่มากๆ ก็ต้องมีระบบรองรับมากๆ

อีกอย่างที่สำคัญของ B คือ People หรือบุคลากร เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเข้ามาทำงาน คัดกรอง(อาจหมายถึง คัดออก หรือคัดคนเก่งไปเป็นหัวหน้า) พัฒนาคน สร้างวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น

แน่นอน B ใช้เงินลงทุนมากกว่า S
ง่ายๆเลย S ทำเองซะหมด ไม่ต้องจ้างใครก็ได้ แต่ B ค่าใช้จ่ายพนักงาน เป็น OPEX ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงอันดับต้นๆ

I: Investment แน่นอนลงทุนก็ต้องใช้เงินลงทุน ยิ่งถ้าหวังจะให้เงินทำงานแทนเราได้ ก็ต้องใช้เงินที่จำนวนมากพอสมควร
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ประสบการณ์การลงทุน ต่างหาก

การเริ่มลงทุนที่ดี คล้ายกับ S คือ ต้องออกแบบการลงทุนให้ "เล็ก" ที่สุด
เล็ก หมายถึงอย่าพึ่งลงทุนมาก เช่นลงทุนในอสังหา ก็ทดลองแค่ 1 Unit

การลงทุนจะต้องใช้เวลา (ไม่ใช่เวลาในแต่ละวัน เหมือน E นะครับ)
แต่เป็นการใช้ระยะเวลาที่ยาวนานหลายๆปี จะให้ลงทุนแบบเร็วๆ รู้ผลเร็ว ปรับเปลี่ยนเร็ว แบบ S นั้นไม่ได้

การทดลองลงทุนน้อยๆในช่วงแรก เพื่อทดลองลงทุนทั้งแบบเสี่ยงมาก และแบบเสี่ยงน้อย เรียกอีกอย่างว่า การกระจายความเสี่ยง

เมื่อเข้าใจการลงทุนหลายๆแบบ บวกกับ ใช้เวลาดูแลมาอย่างยาวนาน
นั้นคือ ประสบการณ์การลงทุน มันเป็น การเดินทางอย่างหนึ่ง

โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทางใน EP ต่อไปได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เงินสี่ด้านในแบบของผม (รายได้ EP2)


ก่อนที่จะไปถึงการสร้างรายได้ต่างๆ รายได้หลายช่องทาง EP2 ขออธิบายประเภทของที่มาและวิธีการของรายได้ ซึ่งมีความแตกต่างและเหมือนกันตรงไหนบ้าง

ผมได้อ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูกเมื่อเกือบ 20 ก่อน ผ่านไป 10 ปี ผมเขียนผังเงินสี่ด้าน ตามที่ตัวเองเข้าใจ มันออกมาไม่เหมือนต้นฉบับของ Robert T. Kiyosaki ตรงที่ B และ I สลับกัน หนังสือเล่มนี้ ผมได้มาฟรีๆจากการเล่นเกมส์ตอบคำถามในงานเลี้ยงบริษัท ก็อ่านไปงั้นๆ เพราะตอนนั้นผมยังไม่ได้รู้ว่าการเงินเป็นเรื่องสำคัญ พออ่านจบ ...ความคิดผมก็เปลี่ยนไปเลย เงินสี่ด้านในแบบต้นฉบับ บอกว่า รายได้เริ่มมาจาก E: Employee (ลูกจ้าง) ถ้ากล้าเสี่ยง จะพัฒนาต่อไปเป็น S: Self Employed (กิจการส่วนตัว)
เมื่อสร้างระบบได้ จะพัฒนาต่อไปเป็น B: Business Owner (เจ้าของธุรกิจ) และถ้าต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน ก็พัฒนาต่อไปเป็น I: Invester (นักลงทุน) หลายคนรู้จักเงินสี่ด้านดี (ตามรูปข้างล่าง) ในแบบของ Work Life Win Win เราไม่ต้องเปลี่ยนไปที่ละ Step แต่เราสามารถสร้างรายได้พร้อมๆกันหลายช่องทางได้ เพียงแต่ว่า B: Business Owner จะทำได้ยากที่สุด (เป็นได้ยาก ใช่ว่าจะ เป็นไปไม่ได้) นอกเหนือจากมีรายได้หลายทางพร้อมๆกันแล้ว แบบ Work Life Win Win แบ่ง 2 ช่องด้านบน เป็น E & I คือรายได้ที่มาจากธุรกิจของคนอื่น เราไปรับจ้างเขาทำงาน หรือเราไปลงทุนในธุรกิจของคนอื่น ส่วน 2 ช่องด้านล่าง เป็น S & B คือรายได้ที่มาจากกิจการหรือธุรกิจที่เราเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง จากไอเดีย/ความรู้ แล้วเราตัดสินใจดำเนินธุรกิจนี้เอง หากเราสามารถมีรายได้จาก 2 ช่องล่างนี้ ไม่เพียงแค่มีรายได้เท่านั้น หลายคนมีความภาคภูมิใจที่ได้มุมานะ มากกว่ารายได้แบบ 2 ช่องบน ถ้าเรามีกิจการ (S: Self Employed) ที่ survive อยู่รอดแล้ว คุณสามารถสร้างระบบ และหาคนที่เก่งกว่าคุณมาทำงานแทน เพื่อสร้างให้เป็นธุรกิจ (B: Business) โดยยอมลดอัตรากำไร แลกกับ Business Scale ที่ใหญ่ขึ้น และเราจะได้เวลาของเรากลับคืนมาด้วย รายได้จากเงินทั้งสี่ด้าน มีสิ่งที่เราต้องแลก และสิ่งที่เราต้องโฟกัส แตกต่างกัน โปรดติดตาม Work Life Win Win ใน EP ต่อไปได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รายได้ กับ เงินเก็บ อย่างไหนดีกว่ากัน (รายได้ EP1)

รายได้ก็เป็นเงิน เงินเก็บก็เป็นเงินเหมือนกัน

แล้วมันดีไม่เท่ากันเหรอ?

ถ้าคุณเข้าใจว่ามันต่างกัน แสดงว่าคุณรู้เรื่องวางแผนการเงินแล้วระดับหนึ่ง รายได้หลายช่องทาง EP1 ต้องการให้เห็นถึงความสำคัญการมีรายได้

การวางแผนใช้เงินเก็บนั้น เป็นเรื่องที่ยากเอามากๆ คุณคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
" สิ่งที่เสียดายที่สุด คือ ตายไปใช้เงินไม่หมด แต่ที่สุดแห่งความสลด คือ ใช้เงินหมดแต่เสือกยังไม่ตาย "

ในช่วงที่เรายังมีเงินเก็บและยังมีชีวิตดีอยู่ การเก็บเงินไว้ที่บัญชีเงินออม ดอกเบี้ยที่ได้ ยังต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ถ้าฝากประจำ ดอกเบี้ยยังถูกหักภาษีรายได้อีก นั่นก็แย่ซ้ำเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตาม คนที่กลุ้มใจเรื่องเงินเฟ้อ กลุ้มใจที่ต้องเสียภาษีจากดอกเบี้ยอันแสนน้อยนิด ก็ยังเป็นที่น่าอิจฉาของคนมีหนี้มีสิน หรือคนไม่มีเงินเก็บเลย

สมมุติง่ายๆว่า คุณอายุครบ 50 ปี สะสมเงินเก็บได้ 10 ล้านบาท แล้วตั้งใจจะใช้เงินเดือนละ 5 หมื่นบาท ดังนั้น (10 ล้าน) หาร (5 หมื่น) หาร (12 เดือน) คุณจะแบ่งใช้เงิน ได้แค่ 16.6 ปีเท่านั้น

อ่าว... ถ้าคุณมีอายุ 66.6 ปี แล้วคุณยังไม่ตายตามแผนที่วางไว้ เงินเก็บก็ใช้หมดไปแล้ว สลดแล้วชีวิต สว.

อีกทางหนึ่ง ถ้านำเงิน10 ล้านบาทไปลงทุน หรือเปลี่ยนให้เป็นทรัพย์สินที่สร้างรายได้ โดยคาดหวังให้ได้ปันผล 7% ต่อปี (กองทุนรวม ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 10ปี มีตั้งแต่ 5-15% ต่อปี) ให้แบ่ง 7% เป็น 5% สำหรับใช้จ่าย ส่วนอีก 2% สำหรับลงทุนเพิ่ม

ดังนั้น ส่วนปันผล 5% หรือ (10 ล้าน) คูณ (5%) หาร (12 เดือน) คุณจะมีเงินใช้เดือนละ 41,667 บาท น้อยกว่าแบ่งเงินเก็บนิดหน่อย (< 5 หมื่นบาท) อย่าพึ่งด่วนสรุปว่ารายได้ไม่ดีเท่าเงินเก็บ

ส่วนปันผลอีก 2% นำไปสะสมเงินลงทุนหรือเพิ่มทรัพย์สินทุกครั้งที่ปันผล เมื่อผ่านไป 16.6 ปี เช่นกัน มูลค่าทรัพย์สินจาก 10 ล้านบาท จะเพิ่มเป็น 13.87 ล้านบาท คิดแบบดอกเบี้ยทบต้น

เมื่อคุณมีอายุ 66.6 ปี ส่วน 5% สำหรับใช้จ่าย (13.87 ล้าน) คูณ (5%) หาร (12 เดือน) คุณจะมีเงินใช้เดือนละ 57,771 บาท คือยิ่งแก่ยิ่งมีเงินใช้เยอะ อยู่ไปอีก 20ปี, 30ปี ได้อย่างสบายใจ ไร้สลด...

ซีรีส์ รายได้หลายช่องทาง จะแชร์ประสบการณ์ตรงส่วนหนึ่ง และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง ในเรื่องการสร้างรายได้หลายจากช่องทางพร้อมๆกัน

หวังว่าผู้อ่าน จะนำไปปรับใช้กับตัวเอง อยากให้มีทั้งความสุขในการทำงาน และมีความสุขในการใช้ชีวิตในเวลาเดียวกัน ตรงตามกับ Concept ของเพจผม Work Life Win Win

พบกับ Work Life Win Win ได้ที่
Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin
Blogger: http://worklifewinwin.blogspot.com